ข้อมูลโรงเรียน บ้านตาบา

บ้านตาบา

บ้านตาบา BTB

ชื่อภาษาอังกฤษ : BANTABA SCHOOL

โรงเรียนบ้านตาบา หมู่ที่ 1
ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
สังกัด สพป.นราธิวาส เขต 2 Tel. 082-9106359

เบอร์โทรศัพท์ : 082-9106359

เบอร์แฟ็ก :

เว็บไซต์ : https://btbschool.ac.th/

เกี่ยวกับบ้านตาบา

ข้อมูลทั่วไป สรุปจำนวนครู จำนวนนักเรียนโรงเรียน บ้านตาบา

สรุปจำนวนครูและบุคลากร

ประเภท ชาย หญิง รวม
1 5 6
ผู้บริหารสถานศึกษา 0 2 2
ข้าราชการครู 6 17 23
พนักงานราชการ 1 5 6
ลูกจ้างชั่วคราว 5 4 9
ครูอัตราจ้าง 1 2 3
เจ้าหน้าที่ธุรการ 0 1 1
รวม 14 36 50

สรุปจำนวนนักเรียนปัจจุบัน

ระดับชั้น ชาย หญิง รวม ห้อง
ป.1 37 34 71 3
ป.2 35 43 78 2
ป.3 42 33 75 2
ป.4 44 48 92 3
ป.5 50 31 81 3
ป.6 34 26 60 3
ม.1 26 14 40 1
ม.2 27 23 50 2
ม.3 26 6 32 1
อ.1 9 14 23 1
อ.2 23 10 33 1
อ.3 7 13 20 1
รวม 360 295 655 23

ข้อมูลทั่วไป
           1.1 โรงเรียนบ้านตาบา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1  ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96110 โทรศัพท์ 08-2067-2590 เว็ปไชต์โรงเรียน  http://www.bantaba.ac.th  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
          1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
          1.3 เขตพื้นที่บริการ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านตาบา  และหมู่ที่ 2 บ้านปูลานิบง
ข้อมูลด้านการบริหาร
          นางสาวรดี นฤมิตสุธน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาบา วุฒิการศึกษาสูงสุด ศษ.ม. บริหารการศึกษา  
          นางสาวฟาตีมา มาดอรี  รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาบา วุฒิการศึกษาสูงสุด ศษ.ม. บริหารการศึกษา 
สภาพทั่วไปของโรงเรียนบ้านตาบา
          โรงเรียนบ้านตาบาจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2469 ได้เปิดเป็นโรงเรียนชั่วคราวเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2469 ต่อมาอาคารชำรุดไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงขอความร่วมมือจากคณะกรรมการอิสลามศึกษา ตั้งอยู่ ณ บ้านตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยอาศัยสถานที่ของสมาคมเปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2493 เป็นต้นมา
          ต่อมานายหะยียูโซ๊ะ เว๊าะบ๊ะ  ได้อุทิศที่ดินจำนวน 9 ไร่ 3 งาน 68.7 ตารางวา ปลูกอาคารเรียน 1 หลัง แบบ ป.1ข จำนวน 4 ห้องเรียน  เปิดใช้ทำการสอนตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2493 เป็นต้นมา
          ปี พ.ศ. 2508 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเด็กเล็กชั่วคราว 1 ห้องเรียน แต่ได้ทำการรื้อถอนเพื่อใช้สถานที่สร้างอาคารเรียนใหม่
          ปี พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 จำนวน 8 ห้องเรียน 2 ชั้น งบประมาณ 450,000 บาท     
          ปี พ.ศ.  2520 ได้รับประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง งบประมาณ 59,000 บาท และรับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง งบประมาณ 45,000 บาท
          ปี พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน 2 ชั้น    ใต้ถุนโล่ง
          ปี พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเอนกประสงค์ แบบ สปช.205/2526 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 823,000 บาท
          ปี พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ สปช.105/2526 จำนวน 4 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง งบประมาณ 840,000 บาท และต่อมาได้รับงบประมาณต่อเติมชั้นล่าง 4 ห้องเรียน
          ปี พ.ศ.2534 ได้รับงบประมาณก่อสร้างรั้วคอนกรีตยาว 552 เมตร งบประมาณ 660,000 บาท
          ปี พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณสนามบาสเกตบอล 20 x 40 เมตร งบประมาณ 125,800 บาท
          ปี พ.ศ.2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 2/28 จำนวน 3 ชั้น 9 ห้องเรียน งบประมาณ 3,422,000 บาท
          ปี พ.ศ.2558  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 105/29 ปรับปรุง 2 ชั้น 4 ห้องเรียน      (ใต้ถุนโล่ง) จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 3,483,100 บาท
          ปี พ.ศ.2558  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ล./55-ก  4 ชั้น 18 ห้องเรียน         (ใต้ถุนโล่ง) จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 22,212,900 บาท
 
          ปัจจุบันโรงเรียนบ้านตาบามีพื้นที่ทั้งสิ้น 9  ไร่ 3 งาน 68.7 ตารางวา มีอาคารเรียน ๕ หลัง จำนวน 19 ห้องเรียน ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 13 ห้องเรียน และระดับมัธยมศึกษาจำนวน 3 ห้องเรียน

ที่ตั้งของโรงเรียน
 โรงเรียนบ้านตาบาตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านตาบา  ตำบลเจ๊ะเห   อำเภอ ตากใบ  จังหวัดนราธิวาส
 
อาณาเขตของโรงเรียน
-  ทิศเหนือ  ติดกับที่มีการครอบครองที่พรุของนายบือราเฮง สะอิ
-  ทิศใต้  ติดกับ   ถนนทางหลวงสายตากใบ                                                                                                                                       
-  ทิศตะวันออก   ติดกับ  ที่มีการครอบครองของนายเจ๊ะโซ๊ะ
-  ทิศตะวันตก  ติดกับ ที่มีการครอบครองของนายกูโน

สภาพชุมชนโดยรวม
          สภาพชุมชนของโรงเรียน ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม โดยคนในชุมชนประกอบอาชีพหลากหลายได้แก่ อาชีพค้าขาย รับจ้าง ประมง และอื่นๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ภายในชุมชนมีฐานะปานกลาง ในด้านจารีตประเพณีและกิจกรรมสำคัญๆทางศาสนาอันดีงามมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเพณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การกวนอาซูรอ เมาลิดดินนาบี วันฮารีรายอ เป็นต้น ด้านภาษา ภาษาที่ใช้ในการติดต่อกันภายในชุมชน ใช้ภาษาภาลายูถิ่น แต่จะใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการ ด้านการศึกษาคนในชุมชนส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับการศึกษาภาคบังคับ