โรงเรียน
ตำบล อำเภอ จังหวัด
สังกัด
โทร.
ข้อมูลทั่วไป สรุปจำนวนครู จำนวนนักเรียนโรงเรียน บ้านทุ่งคัวะ
ประเภท | ชาย | หญิง | รวม |
---|---|---|---|
ผู้บริหารสถานศึกษา | 0 | 1 | 1 |
ข้าราชการครู | 0 | 5 | 5 |
ลูกจ้างชั่วคราว | 1 | 1 | 2 |
ครูอัตราจ้าง | 1 | 0 | 1 |
รวม | 2 | 7 | 9 |
ระดับชั้น | ชาย | หญิง | รวม | ห้อง |
---|---|---|---|---|
ป.1 | 4 | 1 | 5 | 1 |
ป.2 | 0 | 2 | 2 | 1 |
ป.3 | 1 | 2 | 3 | 1 |
ป.4 | 2 | 3 | 5 | 1 |
ป.5 | 2 | 3 | 5 | 1 |
ป.6 | 5 | 3 | 8 | 1 |
อ.2 | 3 | 4 | 7 | 1 |
อ.3 | 6 | 2 | 8 | 1 |
รวม | 23 | 20 | 43 | 8 |
โรงเรียนบ้านทุ่งคัวะ ตั้งอยู่เลขที่ 92 หมู่ที่ ๘ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ อาศัย วัดวิเวก เป็นที่จัดการเรียนการสอน และใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนวัดวิเวก” และสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ต่อมาขยายถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้ย้ายที่ตั้งใหม่ในที่ดินของนายหล้า เสาร์คำ ซึ่งมอบให้กับโรงเรียนเป็นเนื้อที่ ๔ ไร่เศษ
ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดวิเวกเป็นโรงเรียนบ้านทุ่งคัวะ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ นายยงยุทธ สภาวรารัตน์ ครูใหญ่ ได้ร่วมกับชาวบ้านได้สร้างอาคารใหม่ สูง ๑ เมตร กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร
ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับงบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ฉ กว้าง ๘.๕๐ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สูง ๑ เมตร ขนาด ๔ ห้องเรียน บ้านพักครู ๑ หลัง แบบกรมสามัญ อาคารหลังนี้ได้เปิดใช้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๑
ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่ ๒ เป็นเงิน ๒๔,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณจากสภาตำบลไผ่โทนจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาทสร้างถังเก็บน้ำฝน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู หลังที่ ๓ เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับงบประมาณ ๘,๐๐๐ บาท จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสร้างส้วม แบบ ๔๐๑ จำนวน ๒ ที่นั่ง
ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ราษฎรได้สร้างห้องสมุด กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗ เมตร
ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณจาก ก.ส.ช. สร้างบ่อน้ำให้ ๑ บ่อ
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสร้างอาคารเรียน แบบ พ.ร.๐๐๑ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๖๖๓,๐๐๐ บาท สร้างเสร็จเมื่อ ๑ มีนาคม ๒๕๒๖
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับงบประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท สร้างส้วมแบบ ๔๐๑ จำนวน ๓ ที่นั่ง
ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ราษฎรบ้านทุ่งคัวะ ได้งบสร้างห้องประชุม ๑ หลัง
ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ราษฎรได้สร้างเสาธงเป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท และได้บริจาคอุปกรณ์ต่อน้ำประปาให้กับโรงเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ราษฎรได้สร้างห้องสมุด กว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร ให้กับโรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครู และนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ ส.ป.ช. ๒๐๒/๒๖ เป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มูลนิธิศุภนิมิตได้มอบชุดเครื่องสนามเด็กเล่นให้กับโรงเรียนจำนวน ๑ ชุด เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ชมรมพัฒนาชนบทการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้สร้างถังเก็บน้ำฝนให้จำนวน ๓ ถัง
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕ เข้าโครงการเรียนรวมกับโรงเรียนบ้านวังปึ้ง เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ จนถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ คณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัด(กปจ.)ได้อนุมัติให้เปิดเรียน ณ ที่โรงเรียนเดิมจึงได้กลับมาเปิดทำการเรียนการสอนในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
ปีการศึกษา ๒๕๕๕ นายสุเมศวร์ พรหมมินทร์ ย้ายมาจากสำนักงานการศึกษาประถมศึกษา กระบี่ มารับตำแหน่งผู้อำนวยการ ได้ปรับปรุงโรงเรียนรอบด้านโดยเฉพาะด้านอาคารสถานที่ จัดทำเวทีกลางแจ้ง ระบบระบายน้ำ ห้องส้วม ป้ายโรงเรียน ปรับปรุงรั้ว ปรับปรุงอาคารเรียนและห้องประกอบต่าง ๆ เป็นต้น โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนอย่างดียิ่ง นำโรงเรียนผ่านการประเมิน รอบ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และได้รับการรับรองจาก สมศ. ระดับก่อนประถมศึกษา ส่วนระดับประถมศึกษาในเบื้องต้น ไม่ได้รับรองเพราะไม่ผ่านตังบ่งชี้ที่ ๕ (ผลการทดสอบ o-net ของนักเรียนชั้น ป. ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๔) แต่เมื่อได้รับข้อมูลปีการศึกษา ๒๕๕๕ แล้ว สมศ. ก็รับรอง
สร้างความร่วมมือทางการศึกษา (mou) กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่ - เฉลิมพระเกียรติ ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันหลายอย่างเช่น การทำนาปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ การทำมะนาวในกระถาง เป็นต้น
ปีการศึกษา ๒๕๖๑ นายนิยม วิรัตนชัยวรรณ ตำแหน่งครู ชำนาญการพิเศษ ได้ดำรงตำแหน่ง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งคัวะ
1 มีนาคม ๒๕๖๑ นายเด็จจพงษ์ กาญจนพงษ์ชัย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านทุ่งคัวะ ได้ปรับปรุง พัฒนาระบบน้ำภายในโรงเรียนสนับสนุนจาก นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ปรับปรุงระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV ปรับปรุงอาคารเรียนเสาร์คำโดยวิธีขัดพื้นลงสีใหม่ ส่งเสริมการเลี้ยงพันธุ์สุกรเหมยซาน เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน จนถึงปัจจุบัน
|